วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่1

1.       แนวคิดเกี่ยวกับสังคม
ความคิดของมนุษย์โดยมนุษย์และเพื่อมนุษย์ ความคิดที่มนุษย์ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมา จะกระทำโดยคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ กรณีที่คิดคนเดียวก็ต้องเป็นที่ยอมรับของผู้อื่นด้วย แม้ไม่ยอมรับทั้งหมดก็อาจยอมรับเพียงบางส่วน ความคิดนั้นจึงคงอยู่ได้ Emory Bogardus ได้ให้ความหมายแนวคิดทางสังคมว่า “เป็นความคิดเกี่ยวกับการสอบถามหรือปัญหาทางสังคมของบุคคลต่างๆไม่ว่าจะเป็นอดีตหรือปัจจุบัน เป็นการคิดร่วมกันของเพื่อนหรือผู้ที่อยู่ในความสัมพันธ์ เป็นความคิดของแต่ละคนและของกลุ่มคน ในเรื่องรอบตัวมนุษย์ ซึ่งมนุษย์ของสังคมแต่ละยุคแต่ละสมัยก็ต้องคิด เพื่อหาทางแกปัญหาหรือทำให้ปัญหาบรรเทาลง ความคิดความอ่านที่ได้ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาแล้ว และใช้การได้ดี ก็จะได้รับการเก็บรักษาสืบทอดจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง” อาจารย์วราคม ทีสุกะ ให้ความหมายว่า “แนวคิดทางสังคมเป็นความคิดของมนุษย์ เกิดจากการรวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนของมนุษย์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์โดยทั่วไป และปัญหาที่ประสบ ความคิดนี้เป็นที่ยอมรับกันในหมู่มนุษย์ ไม่สูญหาย มีการสืบความคิดกันต่อไป”

2.       หลักการทฤษฎี ทางสังคม
คำอธิบายสิ่งหนึ่งสิ่งใดหรือเรื่องหนึ่งเรื่องใดสำหรับนักวิทยาศาสตร์ ทฤษฎีจะต้องเป็นคำอธิบายตามหลักเหตุผลแสดงความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆของสิ่งนั้นอย่างมีระบบจนสามารถพยากรณ์สิ่งนั้นในอนาคตได้

            ดังนั้น ความหมายของทฤษฎีสังคม คือ คำอธิบายเรื่องของคนและความสัมพันธ์ระหว่างคนตามหลักเหตุผล และความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆของคน หรือระหว่างคนต่อคน คนต่อกลุ่ม คนต่อสภาพแวดล้อม อย่างมีระบบจนสามารถพยากรณ์ได้

            ทฤษฎีสังคมตามความหมายดังกล่าว จึงมีขอบเขตกว้างขวาง เป็นคำอธิบายเกี่ยวกับคนแต่ละบุคคล กลุ่มคน ความสัมพันธ์ระหว่างคนต่างๆรวมไปถึงคำอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อมทั้งที่เป็นสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ข้อสำคัญนั้นจะต้องเป็นไปตามหลักเหตุผล มีระบบระเบียบพอที่จะเป็นฐานในการพยากรณ์เรื่องทำนองเดียวกันในอนาคตได้ Jame Miley “โดยทั่วไป ความพยายามที่จะอธิบายส่วนหนึ่งส่วนใดของสังคม (Social life) ถือได้ว่าเป็นทฤษฎีสังคมและ Henry P Fairchild ให้ความหมายว่า ทฤษฎีสังคม คือ การวางนัยทั่วๆไปหรือข้อสรุปที่ใช้ได้ทั่วไป เพื่ออธิบายปรากฏการณ์สังคมอย่างใดอย่างหนึ่ง



3.       สถาบันทางสังคม
ในทางสังคมวิทยา หมายถึง วิธีการปฏิบัติที่สมาชิกในสังคมยอมรับเพื่อประโยชน์ร่วมกันในสังคม

           องค์ประกอบของสถาบันทางสังคม
                1. องค์การทางสังคม ได้แก่ สถานภาพ บทบาท การควบคุมทางสังคม การจัดระดับความสำคัญของบุคคล                    ตามสถานภาพและค่านิยม
                2. หน้าที่ของสถาบันทางสังคม คือ ภาระผูกพันที่สถาบันจะต้องกระทำเพื่อสนองความต้องการของสังคม
                3. ระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติ คือ วิถีทางในการปฏิบัติเพื่อให้อยู่ร่วมกันในสถาบันของสังคม

4.       บทบาทสมาชิกในสังคม
สมาชิกทุกคนในสังคมย่อมต้องมีบทบาทหน้าที่ตามสถานภาพของตน ซึ่งบทบาทและหน้าที่ของสมาชิกแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันไป แต่ในหลักใหญ่และรายละเอียดจะเหมือนกัน ถ้าสมาชิกทุกคนในสังคมได้ปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของตนอย่างถูกต้องก็จะได้ชื่อว่าเป็น "พลเมืองที่ดีของสังคมและประเทศชาติ" และยังส่งผลให้ประเทศชาติพัฒนาอย่างยั่งยืน ดังนั้น สมาชิกในสังคมทุกคน โดยเฉพาะเยาวชนที่ถือว่าเป็นอนาคตของชาติ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้และปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของตน เพื่อช่วยนำพาประเทศชาติให้พัฒนาสืบไป
5.       วิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัว และสถานการณ์โลกปัจจุบ
 สาเหตุที่ทำให้โลกต้องประสบความพินาศอย่างนี้ สืบเนื่องมาจากอกุศลมูล (ราคะ โทสะ โมหะ) ที่หมักหมมอยู่ในจิตสันดานของมนุษย์ส่วนใหญ่เป็นเหตุ อกุศลมูลนั้น เปรียบเหมือนน้ำกรดที่คอยกัดกร่อนคุณธรรมภายในจิตใจให้สึกหรอ ลงไป จิตใจของมนุษย์เปรียบเหมือนที่นาซึ่งแน่นอนว่า เมื่อข้าวกล้าคือ กุศลธรรมไม่งอกงาม วัชพืชคืออกุศลธรรม ก็ย่อมเติบโตขึ้นมาแทนที่ ครั้นแล้วอกุศลธรรมนั้น ก็จะบีบบังคับมนุษย์ให้แสดงพฤติกรรมต่างๆ ออกมาเป็นการตอบสนอง พฤติกรรมที่มนุษย์แต่ละคนที่แสดงออกมานั้น ย่อมมีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในที่สุด กลียุคก็เริ่มเปิดฉาก พระพุทธเจ้าทรงเข้าใจเรื่องนี้เป็นอย่างดีดังนั่นโลกของเราจึงมีเเต่ความวุ่นวายเพราะกลุ่มคนต่างก้อก้อมีความเห็นเเก่ตัวอยู่มาก
6.       ประเด็นที่เชื่อมโยงเรื่องราว และมีความสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ระหว่างระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
การตั่งถิ่นฐานของมนุษย์เเละปัญหาเรานี้ล้วนเกิดจากมนุษย์ทั่งนั่น   เพราะ
มนุษย์โลกคิดแก่งแย่งผลประโยชน์และเห็นแก่ตัว โดยทำอะไรไม่เคยคิดผลประโยชน์ส่วนรวม
โลกนี้จะพังอย่างไรก็ช่าง ไม่ใช่ โลกของฉันคนเดียว……ไม่ว่า จะสร้างสิ่งใด มนุษย์ต่างก้อไม่ด๊ายคำนึงถึงทรัพยากรณ์ธรรมชาติที่มีเเละใช้ทรัพยากรณ์ทรัพยากรณ์ธรรมชาติในทางผิดๆๆ เช่น  การลักลอบตัดไม้  ทำลายป่า  ล้วนเเต่ก่อปัญหามนุษย์เองทั่งนั่นๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น